มุ้งลวดถือว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่มีประโยชน์อย่างมาก เพราะช่วยป้องกันแมลงต่างๆ ยุง ตะขาบ สัตว์เลื้อยคลานไม่ให้เข้าบ้าน โดยเฉพาะยุง และปัจจุบันถือว่าแทบจะมีกันเกือบทุกบ้านเพราะแทบจะไม่มีพื้นที่ไหนเลยที่ไม่มียุง และยุงยังเป็นตัวแพร่เชื้อทำให้ป่วยได้ โดยเฉพาะไข้เลือดออก และยังสามารถช่วยกรองแสงแดด และฝุ่นผงได้อีกด้วย
รูปแบบของมุ้งลวด
มุ้งลวดในปัจจุบ้นที่พบเห็นกันมี 4 รูปแบบ
1. แบบบานเลื่อน มีทั้งแบบบานเดี่ยวและบานคู่ ซึ่งคุณสมบัติการใช้ก็แตกต่างกันไป โดยสามารถติดตั้งแบบรางบนและล่าง ติดตั้งด้านในของวงกบ หรือจะติดตั้งขอบวงกบก็ได้
2. แบบพับจีบ เป็นดีไซต์การติดตั้งแบบญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายพัด แบ่งได้เป็น 2 แบบมีแบบรางและไม่มีราง ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน
3. แบบม้วนเก็บ เป็นแบบที่ได้รับความนิยมเพราะความสะดวกในการใช้งาน และสามารถม้วนเก็บได้
4. แบบแม่เหล็ก สามารถติดตั้งได้เองได้ง่าย ไม่ต้องเจาะ มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป
ข้อดีมุ้งลวด
1. กันฝุ่น กันแมลง สัตว์มีพิษ และป้องกันสัตว์พาหะนำเชื้อโรคเข้าภายในบ้านได้
2. หากเปิดประตูหน้าต่างที่ติดมุ้งลวด จะช่วยถ่ายเทอากาศเข้าสู่ภายในบ้านได้อย่างสะดวก
ข้อเสียมุ้งลวด
1. หากใช้ไปนาน ๆ จะเกิดฝุ่นคราบสกปรกเกาะพื้นผิวต้องหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอๆ หากไม่หมั่นทำความสะอาด อาจเป็นบ่อเกิดทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
2. อาจเกิดความเสียหายชำรุดได้เมื่อมีการใช้พื้นที่บริเวณที่ติดมุ้งลวด เช่น เผลอชนหรือกระแทกใน ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ควรเลือกความแข็งแรงของมุ้งลวดตามการใช้ประโยชน์ของพื้นที่นั้นๆ ของตัวบ้าน
มุ้งลวดทำจากวัสดุอะไรบ้าง
มุ้งลวดทำจากวัสดุที่หลากหลาย เจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจประเภทของมุ้งลวดว่าต้องการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร มีคุณสมบัติแบบไหน และแบบไหนที่เหมาะกับบ้านของคุณ
- มุ้งลวดไนลอน ที่มีความแข็งแรงด้วยเส้นใยสังเคาะห์ มีความหนา อากาศถ่ายเทได้ยาก แต่ทนทาน จึงไม่เหมาะหากนำไปติดตั้งบริเวณหน้าต่าง
- มุ้งลวดอะลูมิเนียม ช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก แต่มีความผุกร่อนได้ง่าย ใช้ไปนานๆ จะมีการยึดติดไม่ค่อยดี และต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
- มุ้งลวดเหล็กกล้า ทนต่อการกระแทกหรือการแทงด้วยของมีคม มีความปลอดภัยสูง เหมาะกับการติดตั้งภายนอก แต่ปัจจุบันยังมีราคาสูง
- มุ้งลวดไฟเบอร์ หรือ มุ้งใยแก้ว ทนทานต่อการผุกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมเพราะมีการผลิตด้วยความร้อนสูง เหมาะมากในบ้านพักต่างอากาศ ชายทะเล แต่ไม่ทนแรงกระแทกมากนัก อาจทำให้เกิดการผิดรูปเสียทรงเดิมได้